ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคโควิด 19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
A Study on the Relationship between the Knowledge Management and Internal Quality Assurance Effectiveness in Schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 in the Covid-19 Era
คุณากร รื่นรมย์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ของสถานศึกษายุคโควิด 19 2) ศึกษาประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคโควิด 19 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคโควิด 19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 291 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการจัดการความรู้ของสถานศึกษายุคโควิด 19 เท่ากับ 0.92 และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคโควิด 19 เท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับ มากทุกด้าน 2) ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคโควิด 19 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 3) การจัดการความรู้กับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคโควิด 19 โดยรวม (rxy = 0.48) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับ ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The objectives of this research were to: 1) study the knowledge management in schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 in the Covid-19 era, 2) study the effectiveness of internal quality assurance in the Covid-19 era in these schools, and 3) study the relationship between the knowledge management and the internal quality assurance effectiveness in the Covid-19 era. The sample used in the research was a group of 291 teachers in schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2021. The research tools were two five-rating scale questionnaires: a “knowledge management in the Covid-19 era in schools” questionnaire with a reliability of 0.92, and an “effectiveness of internal quality assurance in the Covid-19 era in schools” questionnaire with a reliability of 0.73. The statistics used to analyze the data were: mean, standard deviation, and the Pearson correlation coefficient. The results of the research were as follows: 1) the knowledge management in the schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 in the Covid-19 era, overall was at the high level (x ̅ = 4.28), and was at the high level in every aspect; 2) the effectiveness of internal quality assurance in these schools in the Covid-19 era, overall was at the high level (x ̅ = 4.31), and was at the high level in every aspect; and 3) the relationship between the knowledge management and the effectiveness of internal quality assurance in these schools in the Covid-19 era, overall, showed a moderate level of positive correlation (rxy = 0.48) at the statistically significant level of 0.01.
การจัดการความรู้, ประสิทธิผลการประกันคุณภาพ, ยุคโควิด 19
Knowledge management, quality assurance effectiveness, the Covid-19 era
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 16:53:37