ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
Creative leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic management in the era of Artificial Intelligence (AI) in Schools under Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong
นงเยาว์ เรืองบุญส่ง
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2568
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปีการศึกษา 2567 จำนวน 357 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
The purposes of the research were to: 1) study the creative leadership of school administrators, 2) examine the effectiveness of academic administration in the era of artificial intelligence (AI), 3) analyze the relationship between the creative leadership of school administrators and the effectiveness of academic administration in the era of AI, and 4) develop a forecasting equation for school administrators affecting the effectiveness of academic administration in the era of (AI). This study focused on schools under Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong. This research employed a quantitative approach. The sample consisted of 357 teachers from these schools during the 2024 academic year, determined using Krejcie and Morgans sample size table. The research instrument was a questionnaire based on a 5-point Likert scale, divided into two parts: Part 1 examined the creative leadership of school administrators, with a reliability coefficient of 0.94, while Part 2 focused on the effectiveness of academic administration in the era of AI, with a reliability coefficient of 0.98. The data were analyzed using: mean, standard deviation, Pearsons correlation coefficient, and multiple regression analysis.
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผล, การบริหารงานวิชาการ, ยุคปัญญาประดิษฐ์
School Administrators, Effectiveness, Academic Administration, Era of Artificial Intelligence (AI)
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2025-06-27 08:26:43