ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
The relationship between the academic leadership of school administrators and the good moral principles of teachers in Schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1
กฤษฏ์ น้อยแก้ว
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 327 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 ข้อความ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และตอนที่ 2 แบบสอบถามการมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู จำนวน 30 ข้อความ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก 2) การมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The objectives of this research were to: 1) study the academic leadership of school administrators, 2) study the good moral principles of teachers in these schools, and 3) study the relationship between the academic leadership of school administrators and the good moral principles of teachers in these schools. The sample used in the research was a group of 327 government teachers in schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 in academic year 2021 and was selected by using proportional stratified random sampling method. The research instrument was a 2-part, 5-rating questionnaire. Part 1 contained 25 questions about the school academic leadership of school administrators and had a confidence value of 0.96. Part 2 contained 30 questions about the good moral principles of teachers and had a confidence value of 0.97. The data were analyzed by: mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient. The results of the research showed that: 1) the academic leadership of school administrators was at the high level, 2) the good moral principles of teachers were at the highest level, and 3) the relationship between the academic leadership of school administrators and the good moral principles of teachers had a positive correlation at the statistically significant level of .05.
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, หลักกัลยาณมิตรธรรม
Academic Leadership, School Administrators, Good Moral Principles
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-07-14 10:59:08