ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การเปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน(Problem-based Learning) กับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน (Case-based Learning) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
A comparison of the professional competency and learning achievement in energy resources and the environment by using Problem-based Learning (PBL) and Case-based Learning with vocational certificate students
ภัทราวรรณ ไกรกิจราษฎร์
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2567
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพก่อนเรียน-หลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพหลังเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาช่างยนต์ ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง จำนวน 2 กลุ่มทดลอง โดยเลือกจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.58 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.57 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดสมรรถนะวิชาชีพมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
The objectives of this research were to: 1) compare the professional competency before and after studying the subject of energy, resources and the environment with problem-based learning, 2) compare the professional competency before and after learning with case-based learning method; 3) compare the professional competencies after learning between the two methods, and 4) compare the learning achievements after learning between the two methods. The sample group were 2 classrooms of third year Automotive diploma degree vocational certificate students in the second semester of the academic year 2022 at Don Mueang Technical College. The two experimental groups were selected by purposive sampling. The instruments used in this research were: 1) a lesson plan using problem-based learning with an average appropriateness at the high level of 4.58, 2) a lesson plan using case-based learning with an average appropriateness at the high level of 4.57, 3) a professional competency test which had a reliability of 0.98, and 4) a learning achievement test which had a reliability of 0.84. The statistics used were: mean, standard deviation. and t-test.
สมรรถนะวิชาชีพ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน, การจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Professional Competency, Learning Achievement, Problem-based Learning, Case-based Learning, Vocational Certificate
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-04-10 11:35:27