ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาและการวิเคราะห์หลักสาราณียธรรมกับการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
A study and analysis of the buddhist principles of Saraniyadhamma in relation to the peaceful culture in Schools under Rayong Primary Educational Service Area office 1
ณัฐภรณ์ สมภาร
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 2) ศึกษาการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมกับการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา และ 4) เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมกับการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และตอนที่ 2 สอบถามการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอด้วยรูปแบบการพรรณนา
The purposes of this research were to: 1) study the application of the Buddhist principle of Saraniyadhamma in schools under Rayong Primary Educational Service Area office 1, 2) investigate the enchancement of peaceful culture in these schools, 3) study the relationship between the application of this principles and the enhancement of peaceful culture in these schools, and 4) propose guidelines for applying the principles to the enhancement of peaceful culture in schools. The mixed-method of the research was used. For the quantitative research portion, the sample was a group of 338 school teachers and educational personnel under Rayong Primary Educational Service Area office 1 in the 2021 academic year. The research instrument used was a 2–part, five–rating scale questionnaire. The first part was about the application of the Buddhist principles of Saraniyadhamma and had a reliability of 0.97, and the second past was about the enhancement of peaceful culture in schools and had a reliability of 0.95. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient. In the qualitative research portion, the sample was a group of school teachers and educational personnel under Rayong Primary Educational Service Area office 1 by using the specific sample selection method. The research instruments used were an in-depth interview and a focus group, The data were analyzed by using content analysis and description.
หลักสาราณียธรรม, สันติวัฒนธรรม, การบริหารสถานศึกษา
Buddhist Principles of Saraniyadhama, Peaceful Culture, School Administration
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-07-14 11:14:26