ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

แนวปฏิบัติที่ดีของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
The development of a morals best practices process for Schools under Sakaeo Primary Educational Service Area Office 1
กานต์ชนก พรหมทา
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมของโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 และ 2) ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมของโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.37 ถึง 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่มตามหลักการตรวจสอบสามเส้า คือ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มผู้รับประโยชน์จากโครงการ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะเนื้อหา และการสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. และขั้นตอนที่ 3 การประเมินแนวปฏิบัติที่ดีของกระบวนการ พัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินแนวปฏิบัติที่ดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
The objectives of this research were to: 1) study the current best practices for the process of moral development for schools under Sa Kaeo Primary Educational Service Area Office 1, and 2) develop a new process for these schools. The research method used was the mix method approach of quantitative and qualitive research in 3 steps. In step 1, study the current best practices for the process of moral development, the sample for the quantitative portion was a group of 327 administrators and teachers. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with a discrimination of 0.37-0.83 and a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. In step 2, develop a new process for the schools, the sample for the qualitative portion was a group of 14 key informants and was selected by purposive sampling and the triangulation principle of the following 3 groups: project managers, teachers and project beneficiaries. The research instrument was a focus group discussion. The data were analyzed by content analysis and synthesis. In step 3, moral best practices process assessment, the evaluations forms of a new moral best practices process from the sample group in step 2 were analyzed by mean and standard deviation.
แนวปฏิบัติที่ดี, กระบวนการพัฒนาคุณธรรม, โรงเรียนคุณธรรม
Best Practice, Moral Development Process, Moral Development
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-07-14 11:04:52