ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
Application of the Four Buddhist Principles of Brahmavihara by School Administrators toward Personnel Administration in Schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2
วัชระ คณะทรง
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2 ) เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 291 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการบริหารงานบุคคล ซึ่งส่งผลให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขได้
This research aimed: 1) to study the personnel administration based on Brahmavihara principles of school administrators, and 2) to compare the personnel administration based on Brahmavihara principles of school administrators under Rayong Primary Educational Service Area Office 2, categorized by sex, age, and work experience. The sample consisted of 291 teachers under Rayong Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s table. Proportional Stratified Random Sampling and districts were used to select the sample. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire with a reliability of 0.94. The statistics for data analysis included: percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-Way ANOVA. The findings revealed that: 1) the teachers’ opinion toward the personnel administration based on Brahmavihara principles of school administrators, overall and in each aspect, was at the high level, and 2) the comparison of the personnel administration based on Brahmavihara principles of school administrators under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 categorized by sex, age, and work experience overall was different, but not at a statistically significant level. The findings can be applied in personnel administration. Consequently, teachers and administrators can work effectively and happily.
การบริหารงานบุคคล, พรหมวิหารธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา
Personnel administration, Brahmavihara, Administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-05-25 15:30:37