ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง
Desirable Characteristics of Executive Educational Administrators in Thailand 4.0 Affecting the School Effectiveness in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 18, Rayong Province
ศรายุทธ เมืองคำ
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 2).ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3).ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 กับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4).สร้างสมการพยากรณ์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 และประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.54 - 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
The purposes of this research were: 1) to study the opinions about the desirable characteristics of executive educational administrators in Thailand 4.0; 2) to study the opinions about the effectiveness of schools; 3) to study the relationship between the opinions about the desirable characteristics of executive educational administrators and the effectiveness of schools; and 4) to perform a regression analysis for how the opinions about the desirable characteristics of executive educational administrators affect the effectiveness of schools under the Secondary Educational Service Area Office 18, Rayong Province. The research used stratified random sampling and simple random sampling to get a sample consisting of 320 people. The research instrument was a five-rating scale questionnaire with a discrimination of between 0.54 and 0.88 and a reliability of 0.98. The statistics used for analyzing the data were: mean, standard deviation, Pearsons product moment correlation coefficient and multiple regression analysis.
คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประเทศไทย 4.0
Desirable characteristic, Educational Administrator, Thailand 4.0
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-05-13 13:01:42