ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความพร้อมของราชการส่วนภูมิภาคในการจัดการความมั่นคงภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี
Regional government readiness for Non-traditional Security Threat Management : A Case Study of Chanthaburi Province
นพปฎล สุดเฉลียว
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมและแนวทางการเสริมสร้าง ความพร้อมของราชการส่วนภูมิภาคในการจัดการความมั่นคงภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ในจังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) คือการวิจัยเชิงสำรวจ และการสัมภาษณ์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ราชการส่วนภูมิภาคมีความพร้อมในการจัดการความมั่นคงภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่อยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นปัญหาภัยคุกคามพบว่า ราชการส่วนภูมิภาคมีระดับความพร้อมเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ปัญหายาเสพติด 2) ปัญหาสาธารณภัย ขนาดใหญ่ 3) ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย 4) ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5) ปัญหาโรคระบาด ส่วนแนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการจัดการความมั่นคงภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ได้แก่ เสริมสร้างองค์ความรู้ จัดสรรจำนวนอัตรากำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน บูรณาการระหว่างหน่วยงานหลักกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างจิตสำนึกและความตระหนักถึงปัญหา พัฒนาเครือข่ายเพื่อดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
The research aimed to study the readiness level and offered guidelines to strengthen the readiness of regional government for security management under non-traditional threats in Chanthaburi province. The mixed method approach of survey and qualitative research approaches were used. They included : survey, interviews and participatory observation. The results showed that the readiness of regional government sectors was at a moderate level. The aspects that were considered for level of readiness were as follows: 1) illegal drugs, 2) severe public danger, 3) illegal immigrant labor, 4) environmental and natural resource destruction, and 5) epidemic diseases. The guidelines to strengthen the readiness of regional government were as follows: knowledge empowerment, position allocation of volunteer defense corps, integration of the main sectors with related sectors, awareness cultivation of the problems, network development for coordinating with related sectors and development of government information centers.
ภัยคุกคาม, การจัดการภัยคุกคาม, ความมั่นคง
Threat, Threat Management
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2018-02-07 14:53:16