ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี
Participatory administrations of educational partnerships affecting the development of Academic Excellence in Private Schools under Chonburi Provincial Education Office
รัชวดี สุขนานา
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2568
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษา 2) ศึกษาการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษากับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 357 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน ตามอำเภอที่ตั้งสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษา มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และตอนที่ 2 แบบสอบถามการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย
The purposes of this research were to: 1) study the participatory administrations of educational partnerships in private schools under Chonburi Provincial Education Office, 2) study the development of academic excellence in these schools, 3) study the relationship between the participatory administrations of educational partnerships and the development of academic excellence in these schools, and 4) create forecast equations of the participatory administrations of educational partnerships affecting he development of academic excellence in these schools. This was quantitative research. The research sample was a group of 357 school administrators and teachers. Proportional stratified random sampling was used based on the district of the schools. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire that was divided into 2 parts. Part 1 was about the participatory administrations of educational partnerships and had a reliability value of 0.97; Part 2 was about the development of academic excellence in these schools and had a reliability value of 0.99. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, Pearsons correlation coefficient and simple regression analysis.
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, หุ้นส่วนการศึกษา, ความเป็นเลิศ, สถานศึกษาเอกชน
Participatory Administrations, Educational Partnerships, Academic Excellence, Private Schools
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2025-05-02 10:12:15