ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคเน็กซ์นอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว
Spiritual and Ideological Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness in the Next Normal in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakaeo
อนันต์ ฉิมยงค์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคเน็กซ์นอร์มัล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคเน็กซ์นอร์มัล และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคเน็กซ์นอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว จำนวน 260 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบวัดภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 และตอนที่ 2 แบบวัดประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคเน็กซ์นอร์มัล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
The research aimed to: 1) study the spiritual and ideological leadership of school administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakaeo, 2) study the effectiveness in the next normal in these schools, 3) study the relationship between the spiritual leadership of school administrators and the effectiveness in the next normal in these schools, and 4) create predictive equations for the spiritual leadership of school administrators affecting the effectiveness in the next normal. This research was quantitative research. The sample was a group of 260 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Sakaeo, and was determined by Krejcie and Morgan’s table. The instrument used for this research was a 5 – level rating scale questionnaire divided into 2 parts. Part 1 measured the spiritual and ideological leadership school administrators with a reliability of 0.82. Part 2 measured the effectiveness of school administrators in the next normal with a reliability of 0.90. The statistics used were: average, standard deviation, Pearson’s Product moment correlation coefficient, and multiple regression analysis.
ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์, ประสิทธิผลของสถานศึกษา, เน็กซ์นอร์มัล
Spiritual and Leadership, Effectiveness, Next Normal
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-15 10:22:59