ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
Increasing teacher happiness about work performance in the New Normal by School Administrators of Schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2
พิชญา บุตรธาจารย์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงาน ของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างความสุข ในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำนวน 291 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) การเปรียบเทียบ การเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) การเปรียบเทียบการเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามอายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) การเปรียบเทียบการเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครูฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were: 1) to study the enhancement of happiness in the performance of teachers based on the new normal of the school administrators, and 2) to compare the enhancement of happiness in the performance of teachers based on the new normal of the school administrators under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2 classified by gender, age, and work experience. The sample was a group of 291 teachers under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample was determined by using Krejcie and Morgan’s table and proportional stratified random sampling, classified by the district. The research instrument was a five-rating scale questionnaire regarding increasing teacher happiness about work performance in the new normal by school administrators. The reliability of the questionnaire was 0.94. The statistics used in data analysis were: percentage, mean, standard deviation, T-test and one-way analysis of variance. The results of the research were as follows: 1) increasing teacher happiness about work performance in the new normal by school administrators was at a high level both overall and in each aspect, and 2) the comparison of happiness classified by gender had a statistically significant difference at the .05 level, 3) the comparison of happiness, when classified by age, was difference but at a statistically insignificant level. 4) the comparison of happiness classified by work experience had a statistically significant difference at the .05 level, both overall and in each aspect.
ความสุขในการปฏิบัติงานของครู, ฐานวิถีชีวิตใหม่, ผู้บริหารสถานศึกษา
Teacher Happiness, New Normal, School Administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-05-25 16:21:55