ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด
Administration of the student assistant system using information technology affecting student risk behaviors in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat
ศุภกร รัตนวงษ์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมเสี่ยง ในโรงเรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด จำนวนทั้งสิ้น 306 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้จังหวัดที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงข้ามระดับปานกลางกับพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การพยากรณ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ = 5.607 - .696*X และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ = - .302* โดยสามารถพยากรณ์พฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน ได้ร้อยละ 9.10 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, พฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน
This research aims to: 1) study the administration of the student assistant system using information technology, 2) study student risk behaviors in schools, 3) study the relationship between the administration of the student assistant system using information technology and student risk behaviors in schools, and 4) create prediction equations for predicting the administration of the student assistant system using information technology affecting student risk behaviors in schools under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat. The sample used in the research was a group of 306 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat. The sample size was determined by using the table of Krejcie and Morgan. Proportional Stratified Random Sampling and the schools’ province was used to select the sample. The instrument used in the research was a 5-rating scale questionnaire divided into 2 parts: Part 1 was about the administration of the student assistant system using information technology with a reliability of 0.94, and Part 2 was about student risk behaviors in schools with a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were: average, standard deviation, Pearson correlation coefficient, and a simple regression analysis. The results of the research showed that: 1) all aspects of administration of the student assistant system using information technology were rated at the high level, 2) the overall aspects of student risk behaviors in schools were at the low level, 3) the relationship between administration of the student assistant system using information technology and student risk behaviors in schools showed a moderate negative correlation with statistical significance at the .05 level, and 4) the student assistant system using information technology affected student risk behaviors in schools with statistical significance at the .05 level. The prediction equation in raw score form was= 5.607 - .696**X and the prediction equation in standardized score was = -.302**. The result showed that these equations can predict that 9.10 percent of students will engage in risk behaviors in schools with statistical significance at the .05 level.
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, พฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน
Student Assistant System, Information Technology, Risk Behaviors in Schools
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-11-28 10:39:57