ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว
Transformational Leadership of School Administrators Affecting the Implementation of the Student Assistant System in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sa Kaeo
จันทิมา นกอยู่
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 และตอนที่ 2 แบบสอบถามการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย
This research aimed to: 1) study the transformational leadership of school administrators, 2) study the implementation of the student assistant system in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sa Kaeo, 3) study the relationship between the transformational leadership of school administrators affecting the implementation of the student assistant system in these schools, and 4) create a predictive equation for the transformational leadership of school administrators affecting the implementation of the student assistant system in these schools. This was quantitative research. The sample consisted of 265 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Sa Kaeo. The instrument used in the study was a 5-level estimation scales questionnaire. The questionnaire was divided into two parts. Part one was a questionnaire regarding the transformational leadership of school administrators with a reliability of 0.99. Part two was a questionnaire regarding the implementation of the student assistant system in these schools with a reliability of 0.99. The statistics used for data analysis were: average, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and simple regression analysis.
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
Transformational Leadership, The Student Assistant System in Schools
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-03-14 11:04:37