ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 2
Application of the buddhist Principle of Suppurisadhamma by school administrators affecting the happiness in the workplace at Schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2
หยาดฝน เดชโอภาส
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหาร 2) ศึกษาการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ หลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา และ 4) สร้าง สมการพยากรณ์การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 291คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถาม การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหาร จำนวน 45 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.21 – 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ตอนที่ 2แบบสอบถามการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา จำนวน 30ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.23 - 0.75 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The purposes of the research were to: 1) study the application of the Buddhist principle of Suppurisadhamma by school administrators, 2) investigate the level of happiness in the workplace at their schools, 3) examine the relationship between the application of this principle by school administrators and the level of happiness in the workplace at their schools, and 4) create a forecasting equation for how the application of this principle by school administrators affects the happiness in the workplace at schools. The sample was a group of 291 school teachers under Rayong Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument used was a five-rating scale questionnaire which consisted of two parts. The first part had 45 questions about the application of the principle by school administrators. It had a discrimination of between 0.21 and 0.75 and a reliability of 0.93. The second part had 30 questions about the happiness in the workplace at schools. It had a discrimination of between 0.23 and 0.75 and a reliability of 0.91. The statistics used for data were: percentage, mean, standard deviation, Person’s correlation coefficient, and simple regression analysis.
หลักสัปปุริสธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, องค์กรแห่งความสุข
Principle of suppurisadhamma, School administrators, Happy workplace
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-06-13 09:57:40