ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด
Strategic leadership of school administrators affecting resources mobilization for education in schools under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat
วันวิภา ทำประโยชน์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด ปีการศึกษา 2564 จำนวน 306 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูเห็นด้วยกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูเห็นด้วยกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด คือ การกำหนดกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรในองค์กร และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.821 สามารถพยากรณ์การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ได้ร้อยละ 67.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ และสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ (Y ) ̂= 0.966 0.372 (X1) 0.244 (X4) 0.132 (X3) และในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ( Z) ̂y = 0.424 (X1) 0.281 (X4) 0.174 (X3)
The purposes of this research were to : 1) study the strategic leadership of school administrators, 2) study the resources mobilization for education in schools, 3) study the relationship between strategic leadership of school administrators and resources mobilization for education in schools, and 4) study the strategic leadership of school administrators affecting the mobilization of educational resources under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat. The sample was a group of 306 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat in the academic year 2021. The research instrument was a five – level rating scale questionnaire. The reliability of the strategic leadership of school administrators questionnaire was 0.92, and the reliability of the resources mobilization for education in schools questionnaire was 0.95. The statistics used for analysis data were: mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis. The results of the study were as follows: 1) the strategic leadership of school administrators was at the high level overall and in all aspects, 2) the resources mobilization for education in schools was at the high level overall and in all aspects, 3) the strategic leadership of school administrators and the resources mobilization for education in schools, overall, had a high level of positive correlation, statistically significant at the .05 level, and 4) the strategic leadership of school administrators affecting resources mobilization for education in schools under the Secondary Educational Service Area Office Chanthaburi Trat to formulate strategies in managing resources in the organization, and implement strategies had a multiple correlation coefficient of 0.821. Therefore, it can be used to predict the resources mobilization for education in schools at 67.30 percent. There were statistically significant relationships at the .05 level. The predictive equation in the form of raw score was (Y ) ̂= 0.966 0.372 (X1) 0.244 (X4) 0.132 (X3) and the predictive equation in the form of standard score was ( Z) ̂y = 0.424 (X1) 0.281 (X4) 0.174 (X3).
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, การระดมทรัพยากร
Strategic Leadership, School Administrators, Resources Mobilization
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-05-25 15:34:50