ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การจัดกิจกรรมตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่ส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็ก
Organizing Activities for the “Moderate Class More Knowledge” Policy Affecting Increased Learning of Students in Small Schools
กามนิต บุตรดา
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2561
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นแนวทางดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ตอบสนองต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน การบริหารจัดการ การเรียนรู้ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และการจัดกิจกรรมของโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการจัดกิจกรรมตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาระดับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดกิจกรรมตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” กับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การจัดกรรมตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่ส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The implementation of the “Moderate Class More Knowledge” policy was mandated by the Office of the Basic Education Commission in order to develop four aspects of education. School activities are organized differently depending on the size of the school which has resulted in increased learning in the students. The objectives of this research were: 1) to study the organization of school activities for this policy in small schools, 2) to study increased learning of these students, 3) to study the relationship between these activities and increased learning, and 4) to create a predictive equation for organizing activities affecting students’ learning. The sample size of 240 teachers in small schools under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office was based on Krejcie and Morgan’s tables and was selected by the stratified random sampling method. The research instrument used was a five - rating scale questionnaire which had an alpha coefficient level of 0.97. The statistics used for data analysis and hypothesis testing were: mean, standard deviation, Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient and Simple Regression Analysis
การจัดกิจกรรม, การเรียนรู้
Organizing Activities, Learning
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-01-31 14:38:02