ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
A study of administrative skills of child development center administrators in Rayong, Chanthaburi and Trat provinces
อภินันท์ จันทร์ศรีทอง
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 357 คน แบ่งเป็นผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 92 คน และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 265 คน ด้วยวิธีการ สุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตดต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to study and compare the administrators administrative skills at the child development centers in Rayong, Chanthaburi, and Trat Provinces. The samples of this research determined by the method of stratified random sampling were 357 participants, consisting of 92 administrators and 265 teachers from the child development centers in Rayong, Chanthaburi, and Trat Provinces. The instrument used was a set of five-rating scale questionnaire with the reliability level of 0.98 and the discrimination index level of 0.33-0.84. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, and Scheffes method of multiple comparison tests. The results were as follows : 1) the overall administrative skills of administrators at the child development centers in Rayong, Chanthaburi, and Trat Provinces were ranked as the high level, 2) the comparative results in the overall and individual aspects of administrative skills of administrators at the child development centers in Rayong, Chanthaburi, and Trat Provinces, classified by status, were significantly different at .01 statistical level, and 3) the comparative results in the overall and individual aspects of administrative skills of administrators at the child development centers in Rayong, Chanthaburi, and Trat Provinces, classified by school size, were significantly different at .01 statistical level.
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ทักษะการบริหาร
Child development centers, Administrative skills
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2017-06-29 10:11:44