ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
Strategic Leadership of School Administrators in the 4.0 Era Affecting School Effectiveness in the Education Sandbox in Rayong Province
วิมลรัตน์ ศรีวะรมย์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2567
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 กับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 265 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้สถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
The purposes of this research were to: 1) determine the strategic leadership of school administrators in the 4.0 era in the education sandbox in Rayong Province, 2) determine the effectiveness of these schools, 3) determine the relationship between the strategic leadership of school administrators in the 4.0 era and the effectiveness of these schools, and 4) determine the strategic leadership of school administrators in the 4.0 era affecting the effectiveness of these schools. It was quantitative research. The research sample was a group of 265 teachers from the secondary schools in the education sandbox in Rayong Province in the academic year 2022. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan’s table, and proportional stratified random sampling was used based on the size of schools. The research instrument was a five-rating scale questionnaire divided into 2 parts: part 1 was a questionnaire about the strategic leadership of the administrators with a reliability of 0.98, and part 2 was a questionnaire about the effectiveness of the schools with a reliability of 0.97. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, the Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression analysis.
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา, พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
Strategic Leadership, School Administrators, School Effectiveness, Education Sandbox
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-11-08 11:20:34