ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
Technological Leadership Affecting the Digital Citizenship of Teachers in Schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2
ธาริณี ใจสอาด
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2567
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี 2) ศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพลเมืองดิจิทัลของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
The purposes of the research were to: 1) study the technological leadership of teachers under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) study the digital citizenship of these teachers, 3) study the relationship between the technological leadership and the digital citizenship of these teachers, and 4) create a forecasting equation of technological leadership affecting the digital citizenship of these teachers. This was quantitative research. The research sample was a group of 285 teachers in schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was determined by using Krejci and Morgan’s table, and proportional stratified random sampling was used based on the districts of schools. The research instrument was a five-rating scale questionnaire divided into 2 parts: part 1 was about the technological leadership with a reliability value of 0.98, and part 2 was about the digital citizenship of teachers with a reliability value of 0. 98. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis.
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, พลเมืองดิจิทัล
Technological Leadership, Digital Citizenship
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-08-23 08:56:13