ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัยธยมศึกษา เขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ASEAN Community - Oriented Management of Public Schools under the Secondary Educational Service Area Office 17
กัญจน์รัตน์ สินธุรัตน์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำนวน 307 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยจะตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ วิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบ การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตามตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to study and compare ASEAN community - oriented management of public schools under the jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 17 (SESAO 17) classified by position, working experience and school size. The sample was a group of 57 school administrators and 250 teachers, totally 307. They were taken by specific sampling. The instrument for data collection was a five-rating scale questionnaire with the reliability level of 0.97. The statistics in analyzing the data were: percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA and Scheffe paired comparison test. The research findings revealed that : 1) The level of the ASEAN community - oriented management of public schools under the jurisdiction of SESAO 17, as estimated overall, was high. 2) Considered individually, the ASEAN community-oriented management of public schools under the jurisdiction of SESAO 17, classified by position, was statistically different at a .01 significant level. 3) The ASEAN community-oriented management of public schools under the jurisdiction of SESAO 17, classified by working experience, showed no significant difference. 4) The ASEAN community-oriented management of public schools under the jurisdiction of SESAO 17, classified by school size, was statistically different at a .01 significant level.
การบริหาร, ประชาคมอาเซียน
ASEAN Community, Management
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2019-02-13 09:00:05