ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Management of brain-based learning affecting learning achievement and creativity for Primary 4 Students Studying the Concept of Goods and Services in the Economic Learning Area
พัชรมน ผลประพฤติ
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องสินค้าและบริการ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องสินค้าและบริการ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่องสินค้าและบริการ ระหว่าง การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน เรื่องสินค้าและบริการ ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 60 คน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยสุ่มแบบแบ่งห้องเรียน จับสลากได้ชั้น ป.4/1 เป็นกลุ่มทดลอง และชั้น ป.4/2 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สินค้าและบริการ ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 10 ชั่วโมง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สินค้าและบริการ ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 10 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ชนิดปรนัยเลือกตอบ จำนวน 20 ตัวเลือก 4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ชนิดอัตนัย จำนวน 4 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) การทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (t-test Independent Samples)
The purposes of this research were to: 1) compare the learning achievement before and after learning the concept of goods and services using Brain-Based Learning (BBL), 2) compare the learning achievement before and after learning the concept of goods and services using the Traditional Teaching Method (TTM), 3) compare the learning achievement after learning the concept of goods and services between using BBL and TTM, and 4) compare the creative thinking skills after learning the concept of goods and services between using BBL and TTM. The sample of the research were 60 primary 4 students in 2 classes who were studying in the 2nd semester in academic year 2021. They were selected by purposive sampling and were divided into 2 groups using simple random sampling by dividing the classrooms, one being the experimental group, and one being the control group. The employed research instruments were: 1) 10 lesson plans on the concept of goods and services using BBL, 2) 10 lesson plans on the concept of goods and services using TTM, 3) a 20-item multiple choice learning achievement test on the concept of goods and services, and 4) 4 subjective questions that tested the creative thinking skills of students. The statistics used for the data analysis were: percentage, mean, standard deviation, t-test for Dependent Samples, and t-test for two Independent Samples.
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดสร้างสรรค์
Brain-based Learning (BBL), Learning Achievement, Creative Thinking Skills
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2023-03-17 11:05:20