ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Development of a Cooperative Learning Activity Package with STAD Technique to Improve the Learning Achievement in Economics Subject of Social Studies, Religion and Culture Department for Secondary 1 Students
ปิยนุช ธรรมสุทธิ์
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมะขามสรรเสริญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 4) แบบสอบถามความพึงพอใจการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (T-test)
The purposes of this research were to: 1) develop a cooperative learning activity package with STAD technique to improve the learning achievement in Economics subject for secondary 1 students to be effective according to the standard criteria of 80/80, 2) compare the students’ learning achievement before and after learning with the cooperative learning activity package, and 3) study the students’ satisfaction towards the package. The sample used in this research was a group of 30 secondary 1 students from one classroom out of a total population of 110 students in three classrooms in Makhamsansern School in the first semester of the 2022 academic year. The group was selected randomly by drawing lots. The research instruments included: 1) the cooperative learning activity package with STAD technique to improve learning achievement in Economics subject of Social Studies, Religion and Culture Department for secondary grade 1 students, 2) lesson plans for the activity, 3) a test to assess learning achievement by using the cooperative learning activity package, and 4) a form to survey students’ satisfaction after learning by using the cooperative learning activity package. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation (S.D.) and T-test.
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิค STAD
Learning Activity Package, Learning Achievement, Cooperative Learning, STAD Technique
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 16:48:44