ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การพัฒนาชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of a CS Unplugged Activity Package with Problem-based Learning Management to Enhance Problem-solving Skills in Computing Science for Primary 5 Students
กิตติญา ปัตถาลี
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเอง จังหวัดระยอง 7 จำนวน 31 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 80.32/83.01 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to: 1) develop a CS unplugged activity package with problem-based learning management to meet the efficiency criterion of 80/80, 2) compare students’ problem-solving skills before and after learning with the activity package, and 3) compare students’ learning achievement scores before and after learning with the activity package. The sample used in the research was a group of 31 primary 5 students in Chumchon Nikhom Sang Ton Eng School in Rayong Province in semester 1 of the academic year 2022, and was selected by simple random sampling. The research instruments were: 1) a CS unplugged activity package with problem-based learning management, 2) learning management plans, 3) a problem-solving skills test, and 4) a learning achievement test. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation and t-test. The results of this research were as follows: 1) the effectiveness of the CS unplugged activity package with problem-based learning management was 80.32/83.01, which was higher than the required criterion, 2) the students learning with the activity package had higher problem-solving skills after learning than before at the statistically significant level of .05, and 3) the students learning with the activity package had higher learning achievement scores after learning than before at the statistically significant level of .05.
ชุดกิจกรรมซีเอส อันปลั๊ก, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการแก้ปัญหา
CS Unplugged Activity Package, Problem-based Learning, Problem-solving Skills
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 16:16:15