ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี
A Study of the Factors Affecting Popularity of Local Food Preferences of Residents of Chanthaburi Province
กรกนก มาหยา
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากรที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเจ้าของร้านอาหารท้องถิ่นเจ้าดั้งเดิม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีรวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ระดับความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากทั้งทางด้านผลไม้ อาทิ เงาะ มังคุด ลองกอง อาหารหวาน อาทิ ปาท่องโก๋น้ำจิ้ม ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด และอาหารคาว อาทิ ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง/เนื้อเลียง หมูสะเต๊ะ หมูป่าผัดพริกไทยอ่อน ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของกลุ่มตัวอย่างมี 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารท้องถิ่น ที่เคยชินกับการบริโภคอาหารท้องถิ่นมากกว่าอาหารสมัยใหม่ 2) แหล่งของอาหารท้องถิ่นซึ่งหาบริโภคได้ง่าย มีอยู่ทั้งในครัวเรือน ท้องตลาดและร้านอาหารขึ้นชื่อที่มีอยู่ทั่วไปในจังหวัดจันทบุรี 3) การอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นที่คงกรรมวิธีการทำและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ 4) รสชาติของอาหารท้องถิ่นที่มีความกลมกล่อม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม จัดจ้าน 5) ภาพพจน์ของอาหารท้องถิ่นที่มี การปรุงที่ประณีต ละเอียด พิถีพิถัน และ 6) คติความเชื่อเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น
The purposes of this research were to study the popularity of local dishes and to investigate the factors affecting popularity of local food preferences of residents of Chanthaburi Province. The research instruments used in this study were the mixed methods approaches of quantitative and qualitative research methods. A sample group of 400 residents of the Muang District of Chanthaburi Province responded to a questionnaire for the quantitative portion of the research. In-depth interviews were conducted with owners of local food restaurants in the Muang District area for the qualitative portion of the research. Participatory observations were also applied to the qualitative portion of this study. The results showed that the popularity of local foods was at the high level. Local foods were categorized as follows: 1) Fruit, such as: rambutan, mangosteen and longkong; 2) Desserts, such as: deep-fried dough sticks with dipping sauce, preserved durian, and durian chips; 3) Meat dishes, such as: cardamon pork, beef noodles, pork satay, and stir-fried pork with young pepper. The 6 factors affecting the popularity of local dishes were: 1) Familiarity when compared to other modern dishes; 2) Availability of dishes and ingredients in households, markets and restaurants; 3) Unique flavors due to traditional recipes; 4) Favorable balance of hot, sweet, salty, and spicy flavors; 5) Favorable image of delicate and elaborate food preparation; 6) Confidence in local food preparation
อาหารท้องถิ่น
Local food
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2017-09-22 14:31:14