ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การสื่อสารทางการตลาดของตัวแทนประกันชีวิตที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต
Marketing communications of life insurance agents that affect the decision to purchase life insurance
ชัญญพัชร์ บุญธรรม
สาขาการจัดการนวัตกรรมการสื่อสาร
คณะนิเทศศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ของผู้ทำประกันชีวิตการสื่อสารทางการตลาดของตัวแทนประกันชีวิต และการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการตลาดของตัวแทนประกันชีวิตที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภค และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารทางการตลาดของตัวแทนประกันชีวิตกับการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดจันทบุรีที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้การคำนวณตามสูตร การคำนวณประชากรของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นประมาณ 95% ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ระดับ 0.05 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบค่าที (Independent t - Test) การทดสอบค่าเอฟ (ANOVA) การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ในการทดสอบสมมติฐาน
This research had the following objectives to: 1) study the demographic factors of life insurance consumers, marketing communications of life insurance agents and the consumers decision to purchase life insurance, 2) study the marketing communications of life insurance agents that affect consumers life insurance purchase decisions, and 3) study the relationship between the marketing communications of life insurance agents and consumers life insurance purchase decisions. This research was quantitative research. A questionnaire was used as a tool for collecting data from a sample group of 400 people residing in Chanthaburi Province aged 20 years and over, using a calculation based on Yamane’s population computation formula. It had a confidence level of about 95%, and a sampling error at the level of 0.05. Data were analyzed by using: descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean, and standard deviation. Inferential statistics, consisting of: independent t-test, ANOVA, multiple regression, and correlation coefficient analysis for hypothesis testing.
การสื่อสารด้านการตลาด, การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภค, ตัวแทนประกันชีวิต
Marketing communication, Consumer purchasing decisions, Life insurance agents
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-08-19 15:25:31