ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การสร้างรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก
Construction of a sustainable development model for Funeral Chant and Dance Ceremonies in the Eastern Region of Thailand
พิสุทธิ์ การบุญ
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2565
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณค่าของการแสดงรำสวด ในสังคมไทย การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก และการนำเสนอตัวแบบการสร้างความยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก เป็นการใช้ แนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการแนวสหสาขา โดยวิธีการผสมผสานร่วมกันระหว่างสาขาประวัติศาสตร์ สาขามานุษยวิทยา และสาขาดนตรี นอกจากนี้ยังใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า คุณค่าของการแสดงรำสวดในสังคมไทยเป็นคุณค่าที่ตั้งอยู่บนฐาน ความเชื่อแบบไตรภูมิพระร่วงที่มีรูปแบบพัฒนาการมาตั้งแต่การสวดพระมาลัย การสวดคฤหัสถ์ และการแสดงรำสวด ขณะที่ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออกนั้น พบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องรวม 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านรูปแบบและเนื้อหา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับตัวแบบการสร้างความยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออกที่เหมาะสม ควรปรับเนื้อหาและรูปแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย โดยมีฐานความเชื่อใหม่บนแนวคิดพุทธธรรมแบบสัจนิยม
The objectives of this dissertation were to study the history concerning the value of the funeral chant and dance ceremonies in Thai society, and the factors having affected sustainability of the funeral chant and dance ceremonies in the eastern region, using the guidance of interdisciplinary research. The procedures were a combination of historical fields, anthropology and music. Furthermore, it also used historical qualitative research methods. The results found that the value of performing a chanting dance in Thai society was based on the Trai Bhum Pra Ruang belief that was developed from the chanting of Phra Malai, followed by Suad Caruhat and funeral chant. At present, the factors affecting the viability of the funeral chant and dance ceremonies in the eastern region found that it needed five integral factors such as: a study of its management, public relations, communal participation and support from the private and public sectors, as well as a development of the proper dancing format for the contemporary funeral chant and dance. The content and format should be adjusted in accordance with the changes in Thai society with a new belief base on the concept of realism.
การแสดงรำสวด, รูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน, ภาคตะวันออก
Funeral Chant and Dance Ceremonies, Sustainable Development Format, Eastern Region of Thailand
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-11-28 14:11:11