ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ชีวิตทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในท้องถิ่น : ศึกษากรณีพื้นที่ตําบล วังโตนด อําเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
Economic life of local elderly : A case study of Wang Ta Nod Sub-district Na Yai Arm District Chanthaburi Province
ธัญญารัตน์ ฉายแสง
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2558
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรายได้และรายจ่าย และการปรับตัวในกรณีที่ผู้มีปัญหารายได้ รายจ่ายของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลวังโตนด อําเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการ (Mixed Method Model) คือการวิจัยเชิงสํารวจ และการสัมภาษณ์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลวังโตนด อําเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ จํานวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า รายได้ของผู้สูงอายุในพื้นที่ตําบลวังโตนด อําเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่มีรายได้ 600-1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้จากการรับเบี้ยผู้สูงอายุทุกเดือน แต่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายจ่ายค่ากับข้าว 3,001 บาทขึ้นไปต่อเดือน ส่วนการปรับตัวของผู้ที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ โดยการปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์เพื่อนํามาเป็นอาหารโดยไม่ต้องซื้อหา ซึ่งจะทําให้แบ่งเบาภาระอันเนื่องมาจากความเป็นหนี้ได้ ตลอดจนควรรู้จักคุณค่าของการเก็บออมเงิน โดยการนําเงินไปทําฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ทางหมู่บ้านจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการออมเงิน และจะได้สามารถระดมเงินเพื่อช่วยเหลือคราวที่เดือดร้อนได้ นอกจากนี้แล้วผู้สูงอายุจะได้มีแหล่งกู้ยืมเงินที่มีหลักประกันความมั่นคงในการบรรเทาปัญหาเดือดร้อนในเรื่องภาระหนี้สินได้ระดับหนึ่ง
The objective of this research was to study incomes, expenses, and adaptation of the elderly people under Wang Ta Node Sub-district Administration Organization in Na Yai Am District in Chanthaburi. The mixed method research approach of the survey research and qualitative interview was employed in this study. The research population was 400 elderly people aged over 60 years who lived in the area of Wang Ta Node Sub-district Administration Organization in Na Yai Am District in Chanthaburi and received allowance for the elderly. The research results were found that the most elderly people received a monthly payment between 600- 1,000 baht whereas they spent over 3,001 baht on food. When the expenses were higher than the incomes, the senior citizens adaptation was to plant home-grown vegetables and raised farm animals for food in order to avoid spending money on food, to do the debt relief, and to learn about the value of money saving by having the money deposit through the funeral aid funds run by the village committee with the purpose of saving money, helping out the elderly people with troubles and debts, and the chance for taking on a loan with the financial security
ชีวิตทางเศรษฐกิจ, ผู้สูงอายุ
Economic lifestyle, Elderly
อินธิรา สังคีรี แก้ไขล่าสุด 2016-03-07 14:34:38