ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ศักยภาพการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาความมั่นคงชายแดนภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ระหว่างไทย-กัมพูชา ในกระแสการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดตราด
Potential participation of local administration on security management at eastern border under non - traditional threat between Thailand and Cambodia : A case study of Trat Province
ถาวร เมืองช้าง
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2558
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการมีส่วนร่วม และแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาความมั่นคงชายแดนภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ระหว่างไทย - กัมพูชา ในกระแสการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในจังหวัดตราด วิธีการศึกษาจะใช้การวิจัยเชิงบูรณาการ (Mixed Method Model) คือการวิจัยเชิงสํารวจและการสัมภาษณ์ ในการวิจัยเชิงคุณภาพรวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยและเมื่อพิจารณาผลการศึกษาเป็นรายปัญหาพบว่าด้านที่มีศักยภาพมากที่สุด ได้แก่ การจัดการปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือการจัดการปัญหายาเสพติด และน้อยที่สุด ได้แก่ การจัดการปัญหาการค้าสินค้าเถื่อน สินค้าหนีภาษีกับปัญหาการฟอกเงิน ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มศักยภาพมีแนวทาง ได้แก่ การอบรมให้ความรู้ จัดตั้งกลุ่มองค์กรในท้องถิ่นเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและสร้างช่องทางสื่อสาร กำหนดอํานาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีหน้าที่สนับสนุนงานด้านความมั่นคง
This research aimed to study potential participation and guidelines to encourage potential development of Local Administration in dealing with security management at eastern border provinces of Thailand under new threats and challenges between Thailand and Cambodia in the stream of ASEAN Economic Community in the province of Trat. The mixed method model of the survey research, qualitative interview, and participatory observation was used as the research methodology. The results identified the low level of potential participation. When each aspect of the problems was analyzed, it was found out that the first highest level of potential participation was on the natural resources and environment management, the second highest level of potential participation was on the drug abuse management, and the lowest level of potential participation was on the management of contraband goods, smuggled products, and money laundering. The research findings also showed the following guidelines to encourage the potential development: training, forming local working groups, organizing the monitoring network and communication channel. Moreover, the authority and function of Local Administration should be also determined in order to support the security affairs
ศักยภาพการมีส่วนร่วม, การจัดการปัญหาความมั่นคงชายแดน, ภัยคุกคามรูปแบบใหม่
Potential participation, Security management, New threats
อินธิรา สังคีรี แก้ไขล่าสุด 2016-03-07 13:43:33