ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา
Development of Educational Management Indicators in the Digital Age for Secondary Schools
ปนัดดา ศิริพัฒนกุล
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษายุคดิจิทัลของ โรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ทดสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้การจัดการศึกษายุคดิจิทัลของ โรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนข้ามกลุ่มของตัวบ่งชี้การจัดการศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร 56 คน ครู 300 คน จาก 72 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 356 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมี ค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์เชิงสำรวจอันดับ 1 และอันดับ 2 ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร 223 คน ครู 892 คน จาก 223 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 1,116 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์เชิงยืนยันอันดับ 1 และอันดับ 2 ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนข้ามกลุ่ม 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง และกลุ่มที่ 2 โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุกลุ่ม
The purposes of this research were to: 1) develop educational management indicators in the digital age for secondary schools, 2) test the consistency of these indicators based on a certain conceptual framework, related researches and empirical data, and 3) test the measurement of invariance across groups. This research was quantitative research, consisting of 3 steps: Step 1; to develop educational management indicators. The sample consisted of 356 administrators and teachers from 72 secondary schools, selected by multi-stage random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with a reliability coefficient of 0.97. The data were analyzed by: Exploratory Factor Analysis: first order and second order. Step 2; to test the educational management indicators model. The sample consisted of 1,116 administrators and teachers from 223 secondary schools, selected by multi-stage random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with a reliability coefficient of 0.97. The data were analyzed by: Confirmatory Factor Analysis: first order and second order. Step 3; to test the measurement of invariance across groups, group 1; small and medium school groups and group 2; large and extra-large school groups. The data were analyzed by; Multi-group Analysis.
การพัฒนาตัวบ่งชี้, การจัดการศึกษา, ยุคดิจิทัล
Development of indicators, Educational management, Digital age
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-16 14:58:50