ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
The development of learning inquiry on webquest with concept mapping to develop the scientific process of grade 5 students
พรพิมล อ่อนอินทร์
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2559
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์ ดำเนินการโดยใช้แบบแผนการวิจัย แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการ จับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t- test แบบ Dependent Group) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์ มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พัฒนารูปแบบจากปัญหาที่พบ ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างและประเมินประสิทธิภาพ ของรูปแบบ ได้รูปแบบที่มีประสิทธิภาพ 85.09/81.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บนเว็บเควสท์ร่วมกับผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to 1) develop learning inquiry on webquest with concept mapping for develop scientific process 2) compare students scientific process before and after learning the lessons that used the learning inquiry on webquest with concept mapping and 3) compare the learning achievement between before and after learning using the learning inquiry on webquest with concept mapping. The one-group pretest-posttest design was used for this study. The research sample was obtained by simple random sampling. The employed research instruments were 1) grade - 5 lesson plans about materials and materials’ properties; 2) a scientific process test; and 3) a learning achievement test. Statistics used for the data analysis were the percentage, mean and t-test for one dependent group. The research findings were as follows: 1) The development learning inquiry on webquest with concept mapping had four important processes which were studying the basic data, developing format from the problem, testing the format with the research sample and assessing the efficiency of format. The efficiency format was 85.09/81.50 which was higher than the standard criteria. 2) The scientific process of students after learning inquiry on webquest with concept mapping was higher than before learning at the .01 level of significance. 3) The learning achievement of students after learning inquiry on webquest with concept mapping was higher than before learning at the .01 level of significance.
การจัดการเรียนรู้
Development of learning
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2017-02-14 10:26:17