ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา
The Effect of Internal Supervision on Teachers’ Performance in Vocational Schools
นิภาวรรณ์ ศิริ
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2561
การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาผ่านการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นตัวพยากรณ์ เพราะใช้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคน การจัดการศึกษาต้องมีคุณภาพสูงการนิเทศภายในเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานของครุในทุกๆ ด้านที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ผู้วิจัยจึงศึกษาการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูอาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 210 คน ซึ่งคัดเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้สถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามทฤษฎีการวัดเจตคติของลิเคร์ท (Rating scale) แบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1) แบบวัดการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา จำนวน 45 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และ 2) แบบวัดการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา จำนวน 54 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The goal of this research was to help improve vocational school quality by measuring teachers’ performance through internal supervision. Thailand is committed to using education as a tool for development. Therefore, education must be of a high quality that is influenced by internal supervision by school administrators. The researcher wanted to study the effect of internal supervision on teachers’ performance in vocational schools. The purposes of this research were to study internal supervision and teachers’ performance, to study the relationship between internal supervision and teachers’ performance and to create a prediction equation of internal supervision affecting teachers’ performance. The sample of this research was a group of 210 teachers in schools under the Office of the Vocational Educational Commission in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces in the 2017 academic year. The sample was selected by stratified random sampling. The research instruments used was a 2-part, five-rating scale questionnaire .Part 1 had 45 internal supervision items, and part 2 had 54 teachers’ performance items. The alpha-coeflicient levels of the two parts were .96 and 97. The statistics used for data analysis and hypothesis testing were: mean, standard deviation. Pearson-Product Moment Correlation Coeffcient and simple regression analysis.
การนิเทศภายใน
Internal supervision
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-06 13:20:45