ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทการบริหารระบบการดูแลผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา
A study of student care system administration of school administrators under the Office of Vocational Education Commission in Sakaeo, Prachinburi, and Chachoengsao provinces
เกียรติศักดิ์ ช่างเรือน
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการบริหารระบบการดูแล ผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 59 คน และครูผู้สอน จำนวน 254 คน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัด สระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.75 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีตรวจสอบความความแตกต่างของเชฟเฟ่(Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการบริหารระบบการดูแลผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ด้านการ รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลและด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อ 2) ผลการ เปรียบเทียบบทบาทการบริหารระบบการดูแลผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 3) บทบาทการบริหารระบบการดูแล ผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา จำแนกตามที่ตั้งสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ
The purposes of this research were to study and compare the student care system administration of school administrators under the Office of Vocational Education Commission in Sakaeo, Prachinburi, and Chachoengsao Provinces. The research samples determined by the proportional stratified random sampling method were 59 school administrators and 254 teachers under the Office of Vocational Education Commission in Sakaeo, Prachinburi, and Chachoengsao Provinces. The research instruments used for data collection were the five-rating scale questionnaires with the discrimination index level of 0.33 - 0.63 and the reliability level of 0.93. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance, and Scheffes method of multiple comparison tests. The study revealed as follows : 1) the overall result of student care system administration of school administrators under the Office of Vocational Education Commission in Sakaeo, Prachinburi, and Chachoengsao Provinces was ranked as the high level, arranging from the first three highly ranked aspects : the student development and promotion, the individual student recognition, prevention and problem solving, as well as the referral management, 2) the comparative result in the overall and individual aspects of student care system administration of school administrators under the Office of Vocational Education Commission in Sakaeo, Prachinburi, and Chachoengsao Provinces, classified by status, was different with no statistical significance, and 3) the overall and individual aspects of student care system administration of school administrators under the Office of Vocational Education Commission in Sakaeo, Prachinburi, and Chachoengsao Provinces, classified by school location, was different with no statistical significance.
การบริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษา
Administration, Administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2017-06-29 10:47:41