ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด
The study of the role of strategic leadership of school administrators under the municipality in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces
นวลจันทร์ จุนทนพ
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2559
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จําแนกตาม ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จํานวน 260 คน ได้มาด้วย วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอํานาจจําแนกอยูระหว่าง 0.28 - 0.71 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และ ตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาท ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จําแนกตามขนาดของสถานศึกษา เมื่อพิจารณา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The objectives of this research were to study and compare the role of strategic leadership of school administrators under the municipality in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces classified by working experiences and the size of schools. The sample used in this research were 260 teachers in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces using the stratified random sampling method. The instrument used to collect data was a questionaire with rating scale 5 levels with the discrimination between 0.28 to 0.71 and the reliability of 0.92. The statistical analysis used were percentage, mean and standard deviation, t-test and one-way analysis of variance (One - way ANOVA) and check the difference of pair by using Scheffes pair. The results showed that 1) the role of strategic leadership of school administrators under the municipality in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces overall was at a high level. 2) comparing the roles of strategic leadership of school administrators under the municipality in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces classified by working experiences, the overall was significantly different at .05 level. 3) comparing the roles of strategic leadership of school administrators under the municipality in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces classified by the school size, the overall was significantly different at .05 level.
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา
Leadership, Administrator
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2017-01-05 10:20:58