ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน
Effect of GA3 NAA and brassin - like substance (BS) on size and weight of Rambutan Fruit (Nephelium lappaceum L. cv. Rongrien)
พณิตา สุโข
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิทยานิพนธ์
2560
เงาะพันธุ์โรงเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งประสบปัญหาด้านขนาดและน้ำหนักไม่ได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการ การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตได้ การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช 3 ชนิดต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะ พันธุ์โรงเรียน โดยใช้สาร GA3 (0, 25, 50 และ 75 มก./ล.) NAA (0, 25, 50 และ 75 มก./ล.) และสารคล้ายบราสซิน (BS) (0, 0.5, 1.0 และ 1.5 มก./ล.) ฉีดพ่นให้กับช่อผลเงาะ เมื่ออายุ 7-9 สัปดาห์ หลังดอกบาน พบว่า การใช้สาร GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 75 มก./ล. ทำให้ผลเงาะมีน้ำหนักผลสด น้ำหนักเปลือก น้ำหนักผล มากกว่าการใช้สาร GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 25 และ 50 มก./ล. ผลการทดลองที่ 2 พบว่า การใช้สาร NAA ที่ระดับความเข้มข้น 75 มก./ล. ทำให้ผลเงาะมีน้ำหนักผลสด ความยาวผล ความยาวเมล็ด และน้ำหนักเมล็ดมากกว่าการใช้สาร NAA ที่ระดับความเข้มข้น 25 และ 50 มก./ล. อย่างไรก็ตาม การใช้สาร GA3 และ NAA ทุกระดับความเข้มข้น ไม่ทำให้ผลเงาะมีขนาดตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) แตกต่างจากการไม่ใช้สารและผลการทดลองที่ 3 พบว่า การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้น ทำให้ผลเงาะมีความยาวผล ความกว้างผล ความหนาเปลือก น้ำหนักเปลือก ความยาวเมล็ด ความหนาเนื้อผล น้ำหนักผลสดและน้ำหนักเนื้อผลเพิ่มขึ้น การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้น ทำให้ผลเงาะมีขนาด และน้ำหนักอยู่ในลำดับที่ 1 ของ มกอช. อย่างไรก็ตาม การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นทำให้ขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียนไม่แตกต่างกัน จากการเปรียบเทียบผลของสาร GA3 NAA และ BS พบว่า การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นทำให้ผลเงาะมีเปอร์เซ็นต์ความยาวผล น้ำหนักผล และน้ำหนักเนื้อผล เพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้สาร GA3 และ NAA
-
เงาะพันธุ์โรงเรียน
Rambutan
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2018-08-02 13:52:07