ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ผลของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า
Effect Brown Seaweed Extract in Combination With Chemical Fertilizer on The Growth of Chinese Kale
จันทนิภา มะณีมา
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิทยานิพนธ์
2566
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารสกัดสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อใช้เป็นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักคะน้า โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เพื่อศึกษาผลของการใช้สารสกัดสาหร่ายทะเลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนคะน้าในห้องปฏิบัติการ โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 7 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำ ได้แก่ T1: นำ้เปล่า (control), T2: สารสกัดสาหร่ายทะเล 10%, T3: สารสกัดสาหร่ายทะเล 20%, T4: สารสกัดสาหร่ายทะเล 30%, T5: สารสกัดสาหร่ายทะเล 40%, T6: สารสกัดสาหร่ายทะเล 50% และ T7: สารสกัดสาหร่ายทะเล 60% บันทึกข้อมูลความยาวราก ความสูงและน้ำหนักสดของต้นเมื่อต้นคะน้ามีอายุ 7 วัน การทดลองที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการใช้สารสกัดสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อใช้เป็นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักคะน้าในกระถาง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 8 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำได้แก่ T1: น้ำเปล่า (control), T2: ปุ๋ยเคมีพ่นทางใบสูตร 15-15-15 อัตรา 1%, T3: สารสกัดสาหร่ายทะเล 1%, T4: สารสกัดสาหร่ายทะเล 2%, T5: สารสกัดสาหร่ายทะเล 3%, T6: สารสกัดสาหร่ายทะเล 1% ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1%, T7: สารสกัดสาหร่ายทะเล 2% ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1% และ T8: สารสกัดสาหร่ายทะเล 3% ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1% บันทึกข้อมูลความสูง เส้นรอบวงลำต้น ค่าความเขียวใบ และจำนวนใบ เมื่อต้นคะน้ามีอายุ 31 38 45 และ 52 วันนับจากวันย้ายปลูก บันทึกน้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้น ปริมาณของไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมของต้นคะน้าในวันที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 53 วัน
The aim of this research was to study the effect of brown seaweed extract in combination with chemical fertilizer on the growth of Chinese kale. The study consisted of 2 experiments. The first experiment studied the effect of seaweed extract on the growth of Chinese kale in laboratory conditions. The pot experiment was conducted by using CRD which consisted of 7 treatments with 3 replications. The treatments were as follows: T1: water (control), T2: seaweed extract at 10%, T3: seaweed extract at 20%, T4: seaweed extract at 30%, T5: seaweed extract at 40%, T6: seaweed extract at 50%, and T7: seaweed extract at 60%. Root length, height and fresh weight were measured at the age of 7 days. The second experiment studied the effect of brown seaweed extract in combination with chemical fertilizer on the growth of Chinese kale in a pot experiment and was conducted by using CRD which consisted of 8 treatments with 3 replications. The treatments were as follows: T1: water (control), T2: chemical fertilizer of 15-15-15 at 1%, T3: seaweed extract at 1%, T4: seaweed extract at 2%, T5: seaweed extract at 3%, T6: seaweed extract at 1% with 15-15-15 at 1%, T7: seaweed extract at 2% with 15-15-15 at 1%, and T8: seaweed extract at 3% with 15-15-15 at 1%. The height, stem circumference, leaf greenness and leaf number were measured at 38, 45 and 52 days after transplanting (DAT). The fresh weight, dry weight and concentration of N, P and K of Chinese kale were collected at harvest which was at 53 DAT.
สารสกัดสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล, ปุ๋ยเคมี, คะน้า
Brown seaweed extract, Chemical fertilizer, Chinese kale
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 17:43:52