ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
21st Century Administrative Skills of School Administrators According to the Opinions of Public School Teachers under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
อติกาญจน์ ศรีสังข์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2564
การปฏิรูปการศึกษาไทยภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตโดยผ่านกระบวนการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม การยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะต่างๆ ของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำพาองค์การไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำนวน 324 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.47 - 0.96 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามเพศ และขนาด ของสถานศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสบการณ์ ในการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล การปฏิบัติงานด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาเครือข่าย ทางสังคมออนไลน์ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
Educational reform in Thailand under dynamic changing situation focuses on life-long learning for learners through an efficient educational management process coupled with the utilization of appropriate information technology. Enhancing high quality standards in education requires various skills of school administrators to lead the organization to sustainable progress. The research aimed to study and compare 21st century administrative skills of school administrators according to the opinions of public school teachers under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, classified by gender, working experience and school size. The sample in this research was a group of 324 public school teachers under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, and was determined by Krejcie and Morgan’s comparison table and proportional stratified random sampling method. The instrument for data collection was a five-rating scale constructed questionnaire about 21st century administrative skills of school administrators with a discrimination power between 0.47 and 0.96, attached to its reliability of 0.97. The data were analyzed by using: percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance. The results showed that: 1) 21st century administrative skills of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office overall reached the high level, 2) the comparison of 21st century administrative skills of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, when classified by gender and school size, overall was statistically different at the .05 level of significance. When classified by working experience, it overall had no statistically significant difference. School administrators and concerned sectors can adopt this research as a guideline to encourage administrative skills of basic school administrators by accepting individual differences, working with integrity, emphasizing on life-long learning and developing social networks for a changing society in Thailand.
ทักษะการบริหารงาน, ศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา
Administrative Skills, 21st Century, School Administrator
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-05-09 16:19:11