ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
A Study of the Role of Administrators in the Student Care System in Schools under the office of the Vocational Education Commission (OVEC) in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces
รักศักดิ์ คุ้มชนม์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2561
การออกกลางคันของผู้เรียนถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเปล่าของงบประมาณในการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีการกำหนดนโยบายเพื่อลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายเพื่อดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้บทบาทการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามสถานภาพและเขตจังหวัดที่ตั้งสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 40 คน และครูผู้สอน 248 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.43-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
Student dropout is a major problem that wastes education budgets. The Office of the Vocational Education Commission has promoted a policy to reduce the problem of student dropout by using the students care system with the participation of all parties. The implementation of the student care system is under the management role of the school administrators. The researcher is interested in studying and comparing the roles of school administrators in implementing the student care system in schools under the Office of the Vocational Education Commission (OVEC) in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces. The research sample was selected by the proportional stratified random sampling method and consisted of 40 school administrators and 248 teachers in schools under the Office of the Vocational Education Commission in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s table. The instrument used for data collection was a 5-rating scale questionnaire with the discrimination index of 0.43-0.85 and a reliability of O.97. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way analysis of variance and Sheffe’s method of multiple comparison tests.
อาชีวศึกษา, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
Student Care System, Vocational Education
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-06 13:39:34