ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
The Relationship between the Leadership of School Administrators and the Student Assistant System in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 17
ศุกร์เกษม ปรุงผล
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2560
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน จึงมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 317 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเทียบจากตารางกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – moment Correlation)
The leadership of school administrators is important for the student assistant system which aims to improve the quality of life for students and build their strengths. The purpose of this research were: 1) to study the level of leadership of school administrators under the secondary educational service area office 17, 2) to study the level of student assistant system in these schools, and 3) to study the relationship between the leadership of school administrators and the student assistant system in these schools. The sample of this research was 317 teachers who work in schools under the secondary educational service area office 17 in the academic year of 2016. The sample size was determined according to the sample table of Krejcie and Morgan and was selected by using proportional stratified random sampling. The research instrument used for data collection was 5-rating scale questionnaire with a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, and Pearson Product-Moment Correlation.
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา
Leadership, School administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-03 11:22:38