ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
A Comparison of Problem Solving Ability and Learning Achievement in Motion and Force between Inquiry-Based Learning (5E) and Problem-Based Learning (PBL)
พงศกร ลอยล่อง
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องละ 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วจับฉลาก เพื่อเลือกห้องเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) แผนการจัดเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
The purposes of this research were : 1) to compare the problem solving ability in motion and force of Mathayomsuksa 5 students before and after using inquiry based learning (5E), 2) to compare the problem solving ability in motion and force of Mathayomsuksa 5 students before and after using problem based learning (PBL), 3) to compare the problem solving ability in motion and force of Mathayomsuksa 5 students between the group using inquiry based learning (5E) and problem based learning (PBL), and 4) to compare the learning achievement in motion and force of Mathayomsuksa 5 students between the group using inquiry based learning (5E) and problem based learning (PBL). The samples were Mathayomsuksa 5 students in the 1st semester of the academic year 2020 at Watpapradoo School, Rayong Province. The samples were two groups of students from 2 classrooms, 40 students each selected by purposive sampling. Then simple random sampling was used to select a classroom to enter experimental group 1 and experimental group 2. The research instruments were: lesson plans based on inquiry based learning (5E), lesson plans based on problem based learning (PBL), the problem solving ability test which had a reliability of 0.84 and the learning achievement test which had a reliability of 0.83. The data were analyzed by: mean, standard deviation and t-test.
ความสามารถในการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E), การจัดการเรียนรู้แบบแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
Problem Solving Ability, Learning Achievement, Inquiry-Based Learning (5E), Problem-Based Learning (PBL)
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-12-21 10:38:00