ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

บทวิพากษ์อุดมการณ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Critique of the Development Ideology in the Eastern Economic Corridor (EEC) Plan in Thailand
มนัส พัฒนผล
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์อุดมการณ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รวมถึงการเสนอแนะอุดมการณ์ใหม่เพื่อสร้างความยั่งยืนของการพัฒนา ภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขา โดยเน้นวิธีวิทยาการวิจัยในการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ วิธีดำเนินการวิจัยอาศัยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัย 1) การวิเคราะห์อุดมการณ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า เสรีนิยมใหม่ในฐานะอุดมการณ์ภายนอกมีบทบาทจำกัดในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เนื่องจากรัฐอำนาจนิยมของไทยเข้ามากำกับบทบาทของอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ โดยมีบทบาทเฉพาะในเรื่องของการผ่อนคลายกฎ ระเบียบของรัฐเป็นหลัก กล่าวคือ การพยายามใช้กลไกตลาดในการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยอาศัยมาตรการการผ่อนคลายดังกล่าว ด้วยการละเว้นกฎหมายปกติหรือตรากฎหมายขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ขณะเดียวกัน เสรีนิยมใหม่ก็ยังมีบทบาทจำกัดในเรื่องของการเปิดเสรีและการถ่ายโอนการผลิตไปยังเอกชน 2) ข้อวิพากษ์อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่กับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า มีเบื้องหลังการทำงาน ที่มุ่งตอบสนองการพัฒนาระบบทุนนิยมผ่านการให้ความชอบธรรมในการผลิตซ้ำระบบทุนนิยม โดยมีเป้าหมายเพื่อการสะสมทุนและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาที่มีลักษณะ ของความเหลื่อมล้ำมุ่งกระจายผลประโยชน์ให้กับชนชั้นนำกลุ่มน้อยที่เป็นกลุ่มทุนหลักจตุภาคี ขณะที่ชาวบ้านซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่เป็นผู้เสียประโยชน์จากการพัฒนา 3) ข้อเสนอแนะอุดมการณ์ใหม่เพื่อสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาภาคตะวันออก พบว่า อุดมการณ์และยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่เอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนและชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ อุดมการณ์ชุมชนนิยมแนวนิเวศสังคม และยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้น ความยุติธรรมเชิงนิเวศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นความเท่าเทียมในการกระจายผลการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยการเสริมพลังชุมชน ซึ่งอุดมการณ์และยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวนี้ จะเป็นการพัฒนาแบบคู่ขนานไปกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
The objectives of this research were to: analyze the development ideology towards the Eastern Economic Corridor (EEC) Plan, critique this ideology, and propose new ideologies for sustainable development in the eastern region. A transdisciplinary research approach based on qualitative research methodology focusing on the critical discourse analysis method was used in this study. Data collection was derived from documentary research and in-depth interviews. The research findings were as follows : 1) the analysis of the development ideology of the Eastern Economic Corridor (EEC) Plan found that neoliberalism as an external ideology showed its limited role in the Eastern Economic Corridor (EEC) Plan since the authoritarian government controlled the neoliberal ideology. Neoliberalism mainly showed its role in deregulating government regulations, including using market forces to drive development, making exceptions to general laws, and enacting certain new laws to create more flow; on the other hand, neoliberalism was not allowed to affect liberalization and privatization laws; 2) the critique of the ideology by using neoliberalism found that behind the scenes, the project was focused on capitalist development through the legitimacy of capitalism-based reproduction by purposely having capital accumulation and creating economic growth which could be considered as economic inequality when referring to the benefits for only a minority group of elites acting as capitalists in a quadruple system; whereas, negative impacts and disadvantages from the capitalism affected a much larger number of people in the society; and 3) recommendations for new ideologies for sustainable development in the eastern region found that the ideologies and strategies that could subserve the local communities consisted of the ideology of social ecological communitarianism and developmental strategies focusing on community participation, including ecological justice, equality of outcomes, and community empowerment, all of which could be used to develop the Eastern Economic Corridor (EEC) Plan.
การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์, ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อุดมการณ์การพัฒนา
Critical Discourse Analysis, Eastern Economic Corridor, Development Ideology
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-16 14:10:18