ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ตัวแบบว่าด้วยการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าตามแนวคิดศาสตร์พระราชา : กรณีศึกษาในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
A Model for Coexistence of People and Wild Elephants According to the Philosophy of HRM King Bhumibol Adulyadej: A Case Study of Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province
สมเจตน์ พลอยจั่น
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังเคราะห์องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และเพื่อนำเสนอตัวแบบการจัดการในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ซึ่งเป็นการใช้แนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวกรณีศึกษา ผลการวิจัยนี้พบว่า การสังเคราะห์ศาสตร์พระราชากับการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าสามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ออกได้เป็น 3 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าของช้าง แนวคิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของคนกับช้างป่า และแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการในการจัดการปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า ส่วนข้อค้นพบเกี่ยวกับปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ที่มีผลความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการขยายตัวของหน่วยงานราชการลงสู่พื้นที่ ปัจจัยด้านระบบทุนนิยม ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของช้างป่า อย่างไรก็ดี ข้อเสนอตัวแบบการจัดการในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าตามแนวคิดศาสตร์พระราชา คือตัวแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับช้างป่าตามแนวคิดศาสตร์พระราชา หรือจันทบุรีโมเดล ซึ่งการที่จะสามารถนำตัวแบบที่เหมาะสมดังกล่าวไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยขับเคลื่อนกลไกด้วยมาตรการที่สำคัญรวม 6 มาตรการ ได้แก่ มาตรการการดูแลช้างป่า มาตรการดูแลประชาชน มาตรการเฝ้าระวังช้างป่า มาตรการสกัดกั้นช้างป่า มาตรการในการแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจนระหว่างคนกับช้างป่า และมาตรการในการจัดระบบการชดเชยและเยียวยา
This research aimed to synthesize the philosophy of HRM King Bhumibol Adulyadej with the coexistence between people and wild elephants in Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province, and to propose a managerial model of the coexistence between people and wild elephants according to this philosophy. A qualitative research method based on an interdisciplinary research approach was used in this study. The results revealed that the synthesis of the coexistence between humans and wild elephants according to this philosophy was divided into 3 concepts including: the value of elephants, the coexistence between people and wild elephants, and the measures to solve the problems of humans and wild elephants. The findings about structural factors leading to human-elephant conflicts identified 4 factors including: the expansion of the public sectors into the communities, capitalism, climate change, and ecological effects of the increasing wild elephant population. The model of coexistence between people and wild elephants according to the philosophy of HRM King Bhumibol Adulyadej was the balanced coexistence between people and wild elephants and was also known as the Chanthaburi Model. The model could be appropriately and efficiently applied, and powered by 6 significant measures consisting of: caring for wild elephants, protecting people, surveillance of wild elephants, keeping wild elephants out of human settlements, sharing the use of resources between humans and wild elephants, and providing compensation and remedies for damage caused by wild elephants.
ศาสตร์พระราชา, ช้างป่า, การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล, จันทบุรีโมเดล
The King’s Philosophy, Wild Elephants, Balanced Coexistence, Chanthaburi Model
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-15 10:31:58