ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืน : กรณีศึกษา ประมงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
Legal Measures to Promote Sustainable Fisheries: A Case Study of Eastern Coastal Fisheries
อาทิตยา โภคสุทธิ์
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
ดุษฎีนิพนธ์นี้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม รวมถึงผลที่มีต่อประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ต่อการท าประมงไทย 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมของไทยกับต่างประเทศ และ 4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนของไทย วิธีวิทยาการวิจัยใช้การศึกษาแนวสหวิทยาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำ ข้อค้นพบจากการศึกษามีดังนี้ 1) บทบัญญัติหลักที่เกี่ยวข้องกับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ระดับสากลที่สำคัญ ได้แก่ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย กฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 จรรยาบรรณในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ และกฎระเบียบคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปที่ (EC) No.1005/2008 โดยในบทบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ กำหนดหลักการสำคัญว่ารัฐทั้งปวงมีหน้าที่ออกมาตรการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารัฐนั้น ๆ มีหลักการและแนวทางในการบริหารจัดการทั้งการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลได้อย่างยั่งยืน โดยหลังจากที่ประเทศไทยได้รับประกาศแจ้งเตือนความเป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่สามที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมายประมง ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมหรือใบเหลืองจากคณะกรรมาธิการยุโรป รัฐบาลได้ออกพระราชก าหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมคัญ...
This dissertation aimed to: 1) study the provisions relating to Illegal Unreported and Unregulated Fishing (IUU Fishing) including their effects on Thailand, 2) investigate the impacts on Thailand’s fisheries caused by the enforcement of laws under IUU Fishing, 3) compare the measures relating to IUU Fishing in other countries, and 4) suggest the legal measures to promote sustainable fisheries in Thailand. An interdisciplinary qualitative research methodology was used in this study which included documentary research, fieldwork, and in-depth interviews with the key informants that were used as the data collection techniques.
มาตรการทางกฎหมาย, การประมงที่ยั่งยืน, ประมงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก, การประมงที่ผิดกฎหมาย
Legal Measures, Sustainable Fisheries, Eastern Coastal Fisheries, IUU Fishing in Thailand
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 19:22:56