ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเข้มแข้งทางเศรษฐกิจของชุมชนบางสระเก้าในกระแสโลกาภิวัตน์
Economic Revival Strategies in the Context of Globalization for the Bang Sa Kao Community
พระปลัด สาธิต ทองเปรม
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ 3) ศึกษายุทธศาสตร์การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็ง บางสระเก้า ในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการแสวงหาความรู้ใหม่ ซึ่งต้องตั้งอยู่บนฐานความจริงที่มีหลักฐานและค้นหาสภาพเศรษฐกิจ ในยุคต่าง ๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบไหน เพราะสาเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นและมีวิธีการฟื้นฟูอย่างไร รวมถึงมีเหตุปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เหมาะสม ในการสัมภาษณ์บริบท สัมภาษณ์กลุ่ม สัมภาษณ์เจาะลึกและมีการตรวจสอบด้วยแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเศร้าและตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของชุมชนบางสระเก้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา 1) เป็นช่วงเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพ 2) ช่วงเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพเหลือขาย 3) เป็นช่วงเศรษฐกิจเพื่อขาย ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ พบว่า เกี่ยวข้องกับปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 2) ปัจจัยด้านมูลค่าสินค้าทางการเกษตร 3) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี 4) ปัจจัยด้านการแย่งชิงทรัพยากร 5) ปัจจัยด้านผลประโยชน์ส่วนเกิน และพบว่ามียุทธศาสตร์การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็งบางสระเก้าที่เหมาะสม 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การสร้างรายได้เพื่อแก้จน 2) ยุทธศาสตร์ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนและการรวมกลุ่มการผลิต 3) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนา เศรษฐกิจชุมชน 5) ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบล
The purposes of this research were to study the economic development, factors affecting economic changes, and economic revival strategies in the context of globalization for the Bang Sa Kao community. The study utilized an interdisciplinary research methodology in combination with qualitative research approaches to gather data through document analysis and in-depth interviews with sixteen key informants. The research instrument was a set of interviewing guidelines that were developed and examined with theoretical concepts and relevant research. Data triangulation was used to classify and analyze the collected data; moreover, nine experts checked its appropriateness and feasibility in practice. The research found that the economic development from the past to the present of Bang Sa Kao community could be divided into three economic eras: 1) the subsistence era; 2) the era of subsistence with surplus for sale; and 3) the era of production for sale. There were five factors affecting economic change: 1) public utilities and facilities; 2) agricultural product value; 3) technology; 4) resource competition; and 5) excess benefits. There were five economic revival strategies in the context of globalization for Bang Sa Kao community: 1) generation of income to combat poverty; 2) establishment of a community enterprise that would integrate production groups; 3) promotion of local culture and products; 4) promotion of tourism and economic development; and 5) establishment of a subdistrict sufficiency economy learning center.
พัฒนาการทางเศรษฐกิจ, ยุทธศาสตร์การฟื้นฟู, ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
Economic Development, Strategies, Economic Revival
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 18:28:09