ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
A study of the role of transformational leadership in administrators under the vocational schools in Rayong, Chanthaburi and Trat Province
จิระเดช สวัสดิภักดิ์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของสถานศึกษาเพราะสามารถทำให้ประสิทธิผลของสถานศึกษาสูงขึ้น อีกทั้งยังเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ แรงจูงใจและความเชื่อมั่นของผู้ตามให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการช่วยพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เหมาะสมกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.98 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
Transformational leadership is important and is essential to the quality of the institution. It can make higher educational institutions more effective. It also changes the attitudes, beliefs, and motives of the followers in order to improve the quality of educational management of schools to suit the needs of the modern era better. The purposes of this research were to study and compare the role of transformational leadership in administrators under the vocational school in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces, classified by status and school size. The sample used in this research included 262 teachers in vocational schools in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces. It was selected by using Krejcie and Morgan’s table and proportional stratified random sampling. The instrument used to collect data was a 5-rating scal questionnaire with a discrimination of between 0.32 and 0.98 and a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way analysis of variance (One-way ANOVA) and Scheffe’s comparison test.
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร,
Leadership, Administrator
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-04-16 12:28:45