ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความพึงพอใจในชีวิตของชาวชุมชนกองขยะในจังหวัดจันทบุรี : กรณีศึกษาบ้านล่างพูนทรัพย์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
Quality of life assessment of residents living in proximity to a municipal landfill in Chanthaburi Province : a case study of Ban Lapal ng Phun Sap, Muang District, Chanthaburi Province
นุชนารถ ชื่นฤดี
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ในชีวิตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตของชาวชุมชนกองขยะบ้านล่างพูนทรัพย์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจความคิดเห็นของประชากรที่เป็นตัวแทนครอบครัว จำนวน 124 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้อาวุโสในชุมชนและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ชาวชุมชนกองขยะบ้านล่างพูนทรัพย์มีความพึงพอใจในชีวิตอยู่ในระดับค่อนข้างพอใจทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านบริการสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของชาวชุมชนกองขยะ บ้านล่างพูนทรัพย์มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ความพร้อมในด้านการบริการสังคม ความเป็นชุมชนของชุมชน การมีอาชีพทำกิน ความมั่นคงในที่อยู่อาศัย การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและปัญหาสังคมในชุมชน ส่วนข้อเสนอแนะคือ ประชากรส่วนใหญ่อยากให้มีการดำเนินการให้ชุมชนปลอดจากอบายมุข สิ่งเสพติดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในชุมชน เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจในการใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนมากยิ่งขึ้น
The objective of this research was to assess the quality of life, factors affecting the quality of life and recommendations for improving the quality of life of residents living in proximity to a municipal landfill in Muang District, Chanthaburi Province. The mixed method approaches of quantitative and qualitative research methods were applied to this study. A quantitative survey regarding the opinions of members of the community was completed by 124 members of different families. A qualitative in-depth interview was conducted with village elders. Participatory observations were also used. The findings showed that the residents living in proximity to the municipal landfill in Muang District, Chanthaburi Province were rather satisfied with the quality of life in their community both overall and in each surveyed aspect of: environment, economy, society and access to social services. The 6 factors affecting the quality of life for the residents were: access to social services, physical state of the community structures, employment opportunities, neighborhood security, land ownership rights, and ability to deal with social problems. The recommended improvements for the quality of life were keeping the community free of societal vices including illegal drugs, and developing the facilities surrounding the community in order to attain a higher quality of life.
ความพึงพอใจในชีวิต
Quality of life
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2018-02-07 14:55:47