ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
Emotional intelligence of school administrators as perceived by teachers under the Jurisdiction of Trat Primary Educational Service Area Office
ปวีณา บุศยรัตน์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
ความฉลาดทางอารมณ์นับว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งจะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน วุฒิการศึกษา และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 285 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.41 - 0.93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว
Emotional intelligence considerably influences the achievement of school administrators leading to job performance efficiency. This research aimed: 1) to investigate the level of emotional intelligence of school administrators as perceived by teachers under the jurisdiction of Trat Primary Educational Service Area Office, and 2) to compare the emotional intelligence of school administrators as perceived by teachers under the jurisdiction of Trat Primary Educational Service Area Office, classified by gender, age, working experience, academic degree and school size. The sample used in this research was a group of 285 teachers under the jurisdiction of Trat Primary Educational Service Area Office, derived from Krejcie and Morgans comparison table and proportional stratified random sampling method. The instrument for collecting data was a five-rating scale constructed questionnaire involving the emotional intelligence of school administrators as perceived by teachers under the Trat Primary Educational Service Area Office, which had a discrimination power between 0.41 - 0.93 and a reliability of 0.97. The data were analyzed by using: percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance.
ความฉลาดทางอารมณ์, ผู้บริหารสถานศึกษา
Emotional Intelligence, School Administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-07-21 09:38:59