ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
A Study of the Role of Superleadership in Administrations of Basic Schools in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces
รุ่งรัตน์ สุนทรประยูร
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2560
จากการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันในด้านการจัดการศึกษานั้น จะเห็นได้ว่าการบริหารงานที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จหรือเกิดความล้มเหลวขององค์การ ขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเหนือผู้นำ โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำตนเอง เพื่อนำไปส่งผลที่องค์การได้ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 363 คน ได้มาด้วยวิธีการใช้ตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30-0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
There are competing methods for the administration of public schools in Thailand. The success or failure of an administration depends on the superleadership of the administrators in school administrations. This superleadership helps both the personnel and the organization achieve their goals. The purposes of this research were to study and compare the role of superleadership in administrations of basic schools in Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces in relation to the experience of the practitioner and the size of the school. The sample size of 363 teachers was determined by using Krejcie and Morgan’s proportional stratified random sampling method. The instrument used to collect data was a 5 - scale questionnaire with a discrimination of between 0.30 and 0.84 and a reliability of 0.98. The statistical tools used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, t- test, One-way ANOVA and Scheffe’s method for testing paired differences
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา
Superleadership, Administrations
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-01-31 15:26:18