ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

อิทธิพลของน้ำยางข้นต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรมของอิฐดินดิบ
Influence of Para Rubber Latex on Engineering Properties of Adobe Brick
อรุณรัตน์ เว้นบาป
สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
วิทยานิพนธ์
2562
ในปัจจุบันนี้การผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมการใช้ยางพารา ตลอดจนคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมของยางพาราในการยึดประสานและความยืดหยุ่นจึงมีความน่าสนใจที่จะใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำยางข้นที่มีต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรมของอิฐดินดิบ โดยใช้น้ำยางข้นเป็นส่วนผสมเพิ่มในการทำอิฐดินดิบที่อัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 15 และ 20 โดยน้ำหนักของน้ำทำ การทดสอบหาการเปลี่ยนแปลงขนาดเชิงปริมาตร การดูดกลืนน้ำและกำลังอัดของอิฐดินดิบที่อายุ 28 วัน ทุกส่วนผสม จากการทดลองพบว่า อิฐดินดิบชุดที่ไม่มีการผสมน้ำยางข้น มีค่าการเปลี่ยนแปลงขนาดเชิงปริมาตรเท่ากับ ร้อยละ 20 ไม่สามารถวัดค่าการดูดกลืนน้ำได้เนื่องจากก้อนอิฐละลายน้ำไม่สามารถคงรูปร่างได้ และได้ค่ากำลังอัดที่ 9.18 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สำหรับอิฐดินดิบที่ผสมน้ำยางข้น พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงขนาดเชิงปริมาตรเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำยางข้น ที่เติมเพิ่มเข้าไปในส่วนผสม ค่าการดูดกลืนน้ำของอิฐดินดิบมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น และค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นโดยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 15.75 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่อัตราส่วนการเติมน้ำยางข้น ร้อยละ 15 โดยน้ำหนักของน้ำ จากผลการวิจัยนี้ สามารถสรุปได้ว่าน้ำยางข้น สามารถพัฒนาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของอิฐดินดิบได้ดี โดยปริมาณน้ำยางข้นที่เหมาะสมที่สุดในการทำอิฐดินดิบคือ ร้อยละ 15 โดยน้ำหนักของน้ำ เนื่องจากมีกำลังอัดสูงสุด มีค่าการดูดกลืนน้ำต่ำกว่า และมีการเปลี่ยนแปลงขนาดเชิงปริมาตรไม่แตกต่างจากอิฐดินดิบ
Currently, the production and processing of rubber products has received more attention, which is in line with the government policy of promoting the use of rubber. In addition to the excellent properties of rubber in bonding and elastic, it is interesting to use rubber as an ingredient to produce bricks. The aim of this research is to study the effect of para rubber latex on the engineering properties of adobe brick. Para rubber latex was used as an additive at the ratios of 5, 10, 15 and 20 percent by weight of water. Volumetric change, water absorption and compressive strength of 28 - day adobe bricks were investigated. Results showed that adobe brick with no para rubber latex revealed a volumetric change of 20 percent. Water absorption could not be measured since the bricks were totally dissolved and did not retain any shape. The compressive strength of 9.18 ksc was observed. For adobe bricks containing para rubber latex, the volumetric change increased with increasing para rubber latex addition. The water absorption of adobe bricks tend to decrease with increasing para rubber latex content. The highest compressive strength of 15.75 ksc was observed with para rubber latex addition at 15 percent by weight of water. Thus, it could be concluded that the para rubber latex can improve the engineering properties of adobe bricks. The most suitable latex content for brick making from this study was 15 percent by weight of water because it has the highest compressive strength, lower water absorption and similar volumetric change to those of adobe brick with no para rubber latex. In addition, the knowledge gained from this research could also lead to further development in the production of adobe bricks mixed with para rubber latex for commercial purposes as well.
น้ำยางข้น, อิฐดินดิบ
Adobe brick, Para Rubber
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-06 09:23:28