ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
A study on the roles of teamwork of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
นพวรรณ คงพริ้ว
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การทำงานเป็นทีมเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างราบรื่น ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ควรส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักถึงความของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและพร้อมที่จะก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพในอนาคต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำนวน 33 คน ซึ่งได้จากตารางเทียบของเครจซี่และมอร์แกน วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาบทบาทการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28-0.74 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
Teamwork is the cornerstone of accelerating an organization toward a desired goal smoothly. Modern school administrators should encourage their educational staff to realize the importance of job participation and prepare themselves professionally for the long run. The purposes of this research were to study and compare the roles of teamwork of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, classified by working experience and school size. The sample used in this research was a group of 331 school administrators and teachers under Chanthaburi Primary Educational Area Office resulting from Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The instrument was a questionnaire about the role of teamwork of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Area Office. The research instrument for data collection was a five – rating scale questionnaire with a discrimination of between 0.28 and 0.74 and a reliability of 0.94. The data was analyzed by: percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance.
การทำงานเป็นทีม, ผู้บริหารสถานศึกษา
Teamwork, School administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-01-05 16:16:44